สมุนไพรแก้ โรคหอบหืด ระบบทางเดินหายใจ หลอดลม

486

โรคหอบหืด เป็นโรคในระบบทางเดินหายใจ ที่เกิดจาการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ที่ไวต่อสิ่งกระตุ้น (สารก่อภูมิแพ้) มากกว่าปกติ จึงเกิดอาการแพ้ ระคายเคืองและอักเสบทำให้หลอดลมหดเกร็ง ตีบแคบลง อาการบวม และอาจมีเสมหะมากกว่าปกติ เมื่อโรคหอบหืดกำเริบผู้ป่วยจะมีอาการหอบ ไอ แน่นหน้าอก หายใจถี่ หายใจลำบาก เสียงหายใจมีเสียงดังหวีดๆ ในผู้ป่วยบางรายมีผื่นสีแดงขึ้นตาม อาการเหล่านี้มักจะเป็นๆหายๆ ได้ตลอดเวลา เมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นอาการก็จะกำเริบขึ้นมาอีก

โรคหอบหืดสำหรับสมุนไพรแก้หอบหืดที่มีบันทึกไว้ในตำรายาโบราณ ที่สามารถรักษาอาการหอบหืดได้นั้นมีหลายตำรับและสมุนไพร ที่นำมาใช้ก็มีหลากหลาย เช่น

ดอกปีบ หรือ ดอกกาสะลอง เป็นไม้ยืนต้นสูง มีดอกสีขาว มีกลิ่นหอม จากการวิจัยพบว่าในดอกและใบปีบมีสารฮีสปีดูลิน (Hispidulin) ที่สามารถระเหยได้ มีสรรพคุณในการช่วยขยายหลอดลม เป็นสมุนไพรแก้หอบหืด ซึ่งมีฤทธิ์ดีกว่าอมิโนฟิลลีน (Aminophylline) ที่เป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับรักษาอาการโรคหอบหืด และยังไม่มีพิษตกค้างเหมือนยาแผนปัจจุบันอีกด้วย หมอแผนโบราณจะนำดอกปีบแห้งมาม้วนกับใบบัวหลวงหรือใบตองนวล นำไปสูบคล้ายบุหรี่ หรือสูดดมดอกปีบเข้าไปก็ได้ ทางภาคเหนือและภาคอีสานนิยมนำรากต้นปีบมาต้มรักษาอาการไอ เพราะมีสรรพคุณเรื่องการบำรุงปอด นอกจากนี้เราจะพบว่าดอกปีบเป็นส่วนประกอบสำคัญของยารักษาริดสีดวงจมูก

คนทีเขมา หรือ ผีเสื้อดำ เป็นสมุนไพรแก้หอบหืดเก่าแก่ที่ปรากฏอยู่ในตำราอายุรเวทของอินเดีย มีอายุราว 4,000 ปี เป็นไม้พุ่มสูง กิ่งและใบมีกลิ่นหอม มีดอกสีม่วงอ่อนๆ และผลรูปกลมรี หมอยาพื้นบ้านนิยมใช้คนทีเขมาเป็นยารักษาโรคทางเดินหายใจ อย่าง หอบ ไอ เนื่องจากมีฤทธิ์ร้อนและมีน้ำมันหอมระเหย บางตำราก็นำใบหรือเมล็ดมาทำเป็นยานัด ยาต้ม ยาลูกกลอน เช่น นำเมล็ดคนทีเขมาตากแห้งแล้วนำมาตำเป็นผงละเอียด สักประมาณครึ่งช้อนชา นำมาชงดื่มกับน้ำ/น้ำผึ้ง/น้ำตาลทรายแดง วันละ 2 ครั้ง ยังมีผลการวิจัยพบว่าคนทีเขมามีฤทธิ์ขับเสมหะ รักษาอาการไอและหอบ รักษาหลอดลลมอักเสบเรื้อรังได้อีกด้วย

หนุมานประสานกาย หรือ สังกรณี เป็นอีกสมุนไพรแก้หอบหืด ที่บรรเทาอาการหอบหืด แก้แพ้อากาศ ขยายหลอดลม หนุมานประสานกายเป็นไม้พุ่ม ออกดอกเป็นช่อสีขาวนวล และมีผลทรงกลมขนาดเล็ก ตามตำราแพทย์แผนโบราณจะนำใบกึ่งอ่อนกึ่งแก่ประมาณ 7 ใบใช้เคี้ยวสดๆ กลืนน้ำจนกว่ากากยาจะจืดจึงค่อยคายทิ้งหรือกลืนลงไปก็ได้ ทำอย่างนี้วันละ 2ครั้งก่อนอาหารเช้า-เย็น อาจนำใบแห้งไปต้มดื่มคล้ายน้ำชา ดื่มทั้งเช้า-เย็น ก่อนอาหาร อย่างไรก็ตามหากผู้ใช้มีอาการใจสั่น แน่นหน้าอก อึดอัด หายใจลำบาก เวียนศีรษะ อาเจียน ควรหยุดรับประทานทันที แสดงว่าท่านแพ้สมุนไพรชนิดนี้ และสำหรับหญิงมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ ก็ไม่ควรรับประทานเช่นกันคะ

ไพล เป็นพืชในวงศ์เดียวกับขิง เหง้ามีเนื้อสีเหลือง มีกลิ่นเฉพาะ จากการศึกษาทางคลินิกพบว่าในเหง้าไพลมีสารเวอราทอล (veratrole) มีฤทธิ์ขยายหลอดลม มีการทดลองในผู้ป่วยเด็กที่เป็นหืด พบว่าให้ผลดีทั้งในผู้ป่วยที่มีอาการหอบหืดแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง แต่การรับประทานไพลในปริมาณสูงและใช้เป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดพิษต่อตับ

ถึงแม้ว่าในตำรายาแผนไทยมีการนำสมุนไพรนานาชนิดมาเป็นยารักษาโรคหอบหืดและโรคอื่นๆ อีกมากมาย แต่การรับประทานยาสมุนไพรก็ควรปรึกษาแพทย์ เและไม่ควรรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดีนะคะ

Previous articleรำไทเก็ก ฝึกพลังลมปราณ ปรับสมดุลรักษาสุขภาพ
Next articleโรคหมอนรองกระดูก กดทับเส้นประสาท อาจพิการได้