วิธีตรวจหาสาเหตุมีลูกยาก ที่สามีภรรยาต้องรู้ก่อนท้อง!

50

การวางแผนมีลูกสักคน ไม่เพียงแต่ต้องวางแผนความพร้อมด้านการเงินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการวางแผนสุขภาพของคู่สามีภรรยาอีกด้วย เพราะสุขภาพของว่าที่คุณพ่อคุณแม่ ย่อมส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของทารกที่กำลังจะลืมตาดูโลก รวมทั้งโรคทางพันธุกรรมต่าง ๆ และหากพยายามด้วยวิธีธรรมชาติเท่าไหร่ก็ไม่เป็นผล ก็อาจถึงเวลาที่ทั้งสองฝ่ายต้องได้รับการตรวจหาสาเหตุมีลูกยากอย่างละเอียดและถูกวิธี เพื่อค้นหาแนวทางรักษากับแพทย์เฉพาะทางต่อไปนั่นเอง

ตรวจหาสาเหตุมีลูกยาก

การตรวจหาสาเหตุมีลูกยากในผู้ชาย

คนส่วนใหญ่มักมีความเชื่อว่าสาเหตุของการมีลูกยากต้องเกิดจากฝ่ายหญิงที่เป็นผู้ตั้งครรภ์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สาเหตุก็อาจเกิดจากฝ่ายชายได้เช่นกัน ซึ่งปัจจัยก็เกิดได้จากทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิตและปัญหาสุขภาพโดยตรง

โดยวิธีตรวจหาภาวะมีลูกยากในผู้ชาย จะเน้นไปที่การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ ซึ่งต้องอาศัยทั้งการดูด้วยตาเปล่าและการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อสังเกตลักษณะโดยทั่วไป ปริมาณ ความหนืด ความเป็นกรดด่าง จำนวนอสุจิ อัตราการเคลื่อนไหว อัตราการมีชีวิต และเปอร์เซ็นต์ของอสุจิที่มีลักษณะปกติ นอกจากนี้ยังมีการตรวจหาระดับฮอร์โมนเพศชาย การตรวจความผิดปกติทางพันธุกรรม การตรวจชิ้นเนื้ออัณฑะ และการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพทางการแพทย์ร่วมด้วย

การตรวจหาสาเหตุมีลูกยากในผู้หญิง

ส่วนสาเหตุการมีบุตรยากของผู้หญิง ก็มีโอกาสเกิดได้ทั้งจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต อายุ และพฤติกรรมในชีวิตประจำวันเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความเครียด การดื่มแอลกอฮอล์ อายุ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และปัญหาอื่น ๆ 

สำหรับการตรวจหาสาเหตุมีลูกยากในผู้หญิงนั้น สามารถทำได้หลายวิธี โดยหลัก ๆ จะให้ความสำคัญกับการตรวจคุณภาพไข่และความผิดปกติในโพรงมดลูก ซึ่งนิยมทำกันด้วยวิธีเหล่านี้

  • การตรวจร่างกายและการตรวจสูตินรีเวช
  • การฉีดสีเพื่อตรวจท่อนำไข่และโพรงมดลูก เพื่อตรวจปัญหาท่อนำไข่ตีบตัน
  • การตรวจความผิดปกติของการตกไข่ เช่น ไข่ไม่ตก ไข่ตกน้อย
  • การส่องกล้องเพื่อตรวจโพรงมดลูก และตรวจความผิดปกติบริเวณท่อนำไข่และรังไข่
  • การตรวจอัลตราซาวนด์บริเวณรังไข่และโพรงมดลูก
  • การตรวจระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบสืบพันธุ์และจำนวนไข่พื้นฐาน

และนี่ก็คือวิธีการตรวจหาสาเหตุมีลูกยากทั้งในผู้หญิงและผู้ชายที่เรารวบรวมมาฝากกัน ซึ่งปัจจุบัน นวัตกรรมทางการแพทย์ในการรักษาภาวะมีลูกยากก็สามารถทำได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการทำเด็กหลอดแก้ว IVF การทำ ICSI หรือการฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง (IUI) ซึ่งจะเลือกวิธีไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับปัญหาสุขภาพของทั้งสองฝ่าย อายุ ระยะเวลาในการพยายามมีลูก และการวินิจฉัยของแพทย์ผู้ทำการรักษานั่นเอง

Previous article10 ปัจจัยสำคัญก่อนการเลือกซื้อประกันบ้านที่ตอบโจทย์
Next article7 เคล็ดลับหน้าขาวใส ให้ผิวที่หมองคล้ำ กลับมามีออร่า