โรคหมอนรองกระดูก กดทับเส้นประสาท อาจพิการได้

366

โรคหมอนรองกระดูก คืออะไร หมอนรองกระดูกจะคั่นกลางระหว่างกระดูกสนหลังแต่ละข้อ มีลักษณะวงกลมแบน มีขอบเป็นพังผืดเหนียว ภายในมีของเหลวคล้ายเจลบรรจุอยู่ หมอนรองกระดูกมีหน้าที่รองรับแรงกระแทกให้แก่กระดูกสันหลัง ซึ่งเปรียบเสมือนโช้คอัพรถยนตร์ หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท (Herniated Disc) คือการเกิดการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง อันเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ เมื่อหมอนรองกระดูกเสื่อมจะเกิดการปลิ้น โปร่งออกมาจากแนวกระดูกสันหลังจนไปเบียดทับเส้นประสาทรอบแนวกระดูกสันหลัง หรือเยื่อหุ้มหมอนรองกระดูกอาจฉีกขาดจนทำให้ของเหลวที่อยู่ภายในไปกดทับเส้นประสาทโดยรอบก็ได้

โรคหมอนรองกระดูกอาการที่เด่นชัดสำหรับโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท คือ อาการปวดหลัง บริเวณเอวส่วนล่าง เป็นๆหายๆ เป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป มักมีอาการในท่านั่งหรือท่านั่งงอตัวไปทางด้านหน้า ซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด อาการปวดขาตั้งแต่สะโพกร้าวไปบริเวณน่อง เท้า นิ้วเท้า ซึ่งเป็นเส้นแนวเส้นประสาท จะปวดมากเมื่อเวลาเดิน ต้องหยุดเดินเป็นระยะๆ อาการปวดหลังร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างถือเป็นอาการเด่นของโรคนี้คะ นอกจากนี้ยังมีอาการชาที่ขา หรือ อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ หากเส้นไปประส่าทที่ถูกกดทับนั้นควบคุมกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ หากเกิดการกดทับที่บริเวณคอ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดร้าวมาสะบักลงแขนและมือ อาจมีชาหลังมือ หัวแม่มือหรืออาการอ่อนแรง

ผู้ป่วยจะมีอากรปวดมากน้อยต่างกันไป หากไม่รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา จะทำให้เส้นประสาททำงานได้น้อยลง กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง ควบคุมการขับถ่ายและการเดินไม่ได้ จนอาจทำให้เป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้คะ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท อาจเกิดจากการยกของหนักด้วยท่าที่ไม่ถูกต้องบ่อยๆ มีน้ำหนักตัวมากเกินไป การนั่งท่านั่งที่ไม่ถูกต้อง การเล่นกีฬาที่ต้องออกแรงผ่านหลังมากๆ เช่น กอล์ฟ เทนนิส รวมถึงการประสบอุบัติเหตุหรือการได้รับการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง

โรคหมอนรองกระดูก กดทับเส้นประสาท สามารถรักษาให้หายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แพทย์จะให้ยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ยาบำรุงเส้นประสาท ยาลดอาการปวดเส้นประสาท หากมีอาการรุนแรงแพทย์จะทำการผ่าตัดเอากระดูกส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก อาจจะมีการใส่กระดูกเทียมหรือวัสดุแทน เพื่อป้องกันการทรุดตัวของกระดูก และทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการเกร็ง การบิดตัวของกล้ามเนื้อหลัง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยพื้นตัวได้เร็วขึ้น

วิธีง่ายๆที่สามารถป้องกันการเกิดโรคหมอนรองกระดูกสันทับเส้นประสาทคือ การใช้กล้ามเนื้อบริเวณหลังอย่างถูกวิธี เช่น ในขณะทำงาน ควรหลีกเลี่ยงการ นั่ง เดิน ยืน เป็นระยะเวลานานๆ หมั่นเปลี่ยนอิริยาบทบ่อยๆ ควบคุมน้ำหนักตัวให้สมดุลกับร่างกาย หลีกเลี่ยงการยกของหนักๆ งดสูบหรี่ และควรออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้อง เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังแข็งแรง จะได้ช่วยพยุงให้ทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตได้ดี

เรามีท่าบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและแผ่นหลังให้แข็งแรงมาแนะนำคะ ควรทำท่าละ 3-5 ครั้ง ทุกเช้า-เย็น ท่าบริหารมีดังนี้

  • ท่าที่ 1 นอนหงายยกขาขึ้นข้างหนึ่งให้สูงจากพื้นประมาณ 1 คืบ เข่าเหยียดตรง กระดกปลายเท้าเข้าหาตัว ค้างไว้ 5 วินาที แล้วไปทำอีกข้างหนึ่ง
  • ท่าที่ 2 นอนหงายใช้มือทั้งสองกอดเข่าข้างหนึ่ง โน้มเข่าลงมาให้ชิดลำตัวค้างไว้ 5 วินาที แล้วทำสลับกับเข่าอีกข้าง
  • ท่าที่ 3 นอนหงาย ชันเข่าขึ้น ประสานมือสองข้างไว้ด้านหลังบริเวณเอว จากนั้นแขม่วท้อง กดหลังลงค้างไว้ 5 วินาที

แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำให้เราป้องกันการเกิดโรคดีกว่าจะมานั่งรักษานะคะ อะไรที่เสีย ที่เสื่อมแล้ว หากทำการรักษาก็อาจจะใช้งานได้เหมือนเดิมหรือไม่ได้เหมือนเดิมก็ได้นะคะ

ข้อมูลอ้างอิง

โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท : bumrungrad.com
สัญญาณเตือนหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท : msn.com/th-th/news/
ภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท : siphhospital.com
หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทช่วงเอว : somdej.or.th
อาการกระดูกทับเส้นสาเหตุเกิดจาก : spinefitpro.net

Previous articleสมุนไพรแก้ โรคหอบหืด ระบบทางเดินหายใจ หลอดลม
Next articleอาการสั่น โรคสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ (Essential Tremor)