การลงเสาเข็มให้กับตัวบ้าน หนึ่งวิธีแก้ปัญหาบ้านทรุดที่ได้ผล

277

ปัญหาบ้านทรุด ปัญหาสุดหนักอกหนักใจที่ทำให้ใครหลายๆ คนถึงกับกุมขมับ เพราะบ้านที่เราอาศัยอยู่ในทุกๆ วันนั้น เมื่อเวลาผ่านไป อาจเกิดปัญหาที่ไม่คาดฝันอย่างปัญหาบ้านทรุดขึ้นมาได้ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ของบ้านหรือพื้นที่ที่ต่อเติมมาก็ตาม แล้วเราจะมีวิธีแก้ปัญหาบ้านทรุดได้อย่างไรบ้าง ผู้เชี่ยวชาญต่างหาวิธีการในการแก้ไขปัญหาสุดหนักอกหนักใจนี้ และมีให้เลือกอยู่หลายทางด้วยกัน

วิธีแก้ปัญหาบ้านทรุดแต่วันนี้เราอยากจะมาแนะนำเกี่ยวกับวิธีแก้ปัญหาบ้านทรุดด้วยการลงเสาเข็มให้กับบ้านหรือที่พักของคุณกัน ถ้าพร้อมแล้ว ตามมาดูกันว่าจะแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่

เสาเข็มมีกี่แบบ

ต้องบอกก่อนว่าการลงเสาเข็มนั้นเป็นวิธีแก้ปัญหาบ้านทรุดที่ต้องเริ่มทำตั้งแต่การก่อสร้าง เพื่อให้โครงสร้างบ้านสามารถยึดเกาะกับผืนดินได้อย่างมั่นคง และเพื่อป้องกันไม่ให้ดินทรุดตัวและสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีเสาเข็มให้เลือกอยู่หลายประเภทด้วยกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของตัวบ้านและการก่อสร้าง สามารถแบ่งออกได้เป็น

  • เสาเข็มตอก เป็นการใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็มลงไปในดินจนได้ความลึกเท่าที่ต้องการ ไม่ซับซ้อน และมีค่าใช้จ่ายไม่สูงจนเกินไป แต่มีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาด กรณีที่ผู้รับจ้างนั้นไม่ใช่วิศวกร และเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด ก็ควรที่จะต้องมีวิศวกรผู้รับผิดชอบเป็นผู้ควบคุมการตอกเสาเข็มด้วยล่ะ
  • เสาเข็มเจาะ จะเป็นเสาเข็มที่หล่อคอนกรีตลงไปในดินที่ถูกเจาะเป็นหลุมและใส่ให้เต็ม เป็นการแก้ปัญหาที่เกิดจากการใช้เสาเข็มตอก ไม่ว่าจะเป็นการขนย้ายเสาเข็ม การรบกวนอาคารและสถานที่โดยรอบจากแรงสั่นสะเทือนของการตอก
  • เสาเข็มกลมเหวี่ยงอัดแรง หรือที่เรียกว่าเสาเข็มสปัน มีให้เลือกหลายขนาดและมีความยาวที่สามารถเชื่อมต่อกันได้ ช่วยลดแรงดันของดินขณะตอก ลดแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นกับอาคารข้างเคียงได้ และโดยรอบของเสาเข็มนั้นจะมีโครงลวดเหล็กอัดแรงฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตอีกด้วยล่ะ

แล้วสำหรับการต่อเติมบ้านนั้น จะต่อเติมอย่างไรดี เพื่อป้องกันไม่ให้บ้านทรุด

สิ่งสำคัญเลยก็คือ ไม่ว่าจะเป็นการต่อเติมเล็กๆ น้อยๆ หรือการต่อเติมใหญ่ๆ สิ่งที่จะเป็นมากที่สุดก็คือการคำนวณน้ำหนักเพื่อป้องกันไม่ให้โครงสร้างบ้านจริงทรุดตัวเมื่อมีการต่อเติมส่วนอื่นๆ เพิ่มเข้าไป ทั้งนี้ วิธีการป้องกันและวิธีแก้ปัญหาบ้านทรุดจากกรณีที่ต่อเติมนั้น ก็ควรที่จะแยกโครงสร้างออกจากตัวบ้านหลักและควรจบงานของรอยต่อพื้นกับผนังให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรอยฉีกขาดและรอยแตกร้าว ซึ่งการแยกโครงสร้างบ้านหลักและโครงสร้างสำหรับการต่อเติมออกจากกันนั้น จะช่วยป้องกันปัญหาบ้านทรุดได้อย่างดีอีกด้วย

ทั้งนี้ สำหรับใครที่กำลังสนใจหรือกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับการต่อเติมบ้านและหาวิธีแก้ปัญหาบ้านทรุด ก็ต้องบอกว่าการที่เราไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนการตัดสินใจ ก็จะช่วยให้โครงสร้างของบ้านนั้นอยู่ในสภาพที่ดี และเรียกได้ว่าคุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะเราไม่จำเป็นที่จะต้องมากังวลหรือวุ่นวายเกี่ยวกับบ้านหลังจากที่ทำการต่อเติมไปอีกด้วยล่ะ

Previous articleเพิ่มเสน่ห์ด้วย 4 สเปรย์ระงับกลิ่นกายสำหรับผู้ชายที่นิยามความเป็นคุณ
Next articleหลังคา Skylight สวยได้ ประหยัดไฟด้วย