รู้จักเครื่องวัดอุณหภูมิ (เทอร์โมมิเตอร์) ทำงานอย่างไร มีกี่ประเภทอะไรบ้าง

1373

การวัดอุณหภูมิเป็นการวัดความแตกต่างจากวัดอื่นๆ เพราะให้ความสนใจใน “สเกล” (Scale) ในขณะที่การวัดอื่นสนใจเรื่อง “หน่วย” (Unit)  การวัดอุณหภูมิอาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงสมบัติต่างๆ เข่น การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางไฟฟ้า เช่น เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) เทอร์มิสเตอร์ (Thermistor), การเปลี่ยนแปลงทางแสงและแผ่รังสี ,การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมี และการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกล เป็นต้น

เครื่องวัดอุณหภูมิ
ภาพจาก pixabay.com

เครื่องมือวัดอุณหภูมิที่เราคุ้นเคยกันอยู่และเห็นกันบ่อย เช่น ปรอทวัดไข้ เครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรด เครื่องมือวัดแบบจุ่ม/จิ้มลงในอาหาร จึงอาจกล่าวได้ว่า “เครื่องวัดอุณหภูมิ” หรือ “เทอร์โมมิเตอร์ คือเครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิหรือวัดระดับความร้อนโดยใช้หลักการวัดที่แตกต่างกันไป แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือการแสดงผลแบบดิจิตอลซึ่งจะมีหน้าจอแสดงผลที่อ่านค่าออกมาเป็นตัวเลขที่ชัดเจนและ สามารถพกพาได้สะดวก

การเลือกเครื่องมือวัดอุณหภูมิจำเป็นต้องคำนึงถึงช่วงการวัดอุณหภูมิความละเอียดความถูกต้องของการที่ได้จากการวัดและควรพิจารณาสิ่งแวดล้อมที่จะนำเครื่องวัดอุณหภูมิไปใช้ให้เหมาะสม เครื่องวัดอุณหภูมิมีด้วยกัน 2 แบบหลักๆคือ

ข้อมูลแนะนำสำหรับอุตสาหกรรม — เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้น

เครื่องวัดอุณหภูมิแบบสัมผัส

เครื่องวัดอุณหภูมิแบบสัมผัส เป็นการนำเครื่องมือไปสัมผัสกับชิ้นงานเพื่อให้สามารถวัดค่าอุณหภูมิออกมาได้ซึ่งการตีความหมายของการสัมผัสก็จะมีด้วยกันหลายประเภทคือ สัมผัสที่พื้นผิว (Surface) สัมผัสแบบจุ่ม (Immerse) สัมผัสแบบเสียบ (Penetrate) ซึ่งเรื่องลักษณะการสัมผัสต้องเลือกให้ตรงและเหมาะสมกับลักษณะงานที่เราต้องการนำไปวัด เช่น เทอร์โมมิเตอร์แบบเปลี่ยนขยายตัวเป็นความดัน (Pressure Thermometer), เทอร์โมมิเตอร์แบบแถบโลหะคู่ (Bi-metal Thermometer)

เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส

เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส (Infrared Thermometer) เป็นเครื่องมือวัดอุณหภูมิที่ใช้การวัดด้วยรังสีอินฟราเรดที่ถูกปล่อยออกมาจากวัตถุโดยการวัดเป็นการวัดอุณหภูมิที่พื้นผิวเท่านั้นการใช้เครื่องวัดแบบนี้เหมาะสำหรับการวัดวัตถุที่ยากต่อการเข้าถึงของโพรบ (Probe) วัด หรือวัตถุที่มีอันตราย หรือมีความร้อนมากเกินไป เช่น เปลวไฟ สารเคมีอันตราย สารกัดกร่อน เป็นต้น  การเลือกเครื่องมือวัดชนิดนี้จะต้องดู 2 เรื่องหลักๆคือ Distance to Sport Radio และค่า Emissivity เพื่อให้สามารถอ่านค่าอุณหภูมิได้อย่างถูกต้อง

ค่า Emissivity (E) คือค่าสัมประสิทธิ์การแผ่รังสี มีค่าตั้งแต่ 0-1 โดยวัตถุต่างชนิดดันหรือมีลักษณะพื้นผิวแตกต่างกันก็จะมีค่า E การสะท้อนรังสีของผิววัตถุต่างกันไป ซึ่งโดยทั่วไปแล้วค่าจะอยู่ที่ 0.95 ผู้ใช้งานควรศึกษาข้อมูลในการปรับค่า โดยเฉพาะการนำไปใช้วัดกับวัตถุผิมันวาว

ค่าระยะห่างระหว่างเทอร์โมมิเตอร์และพื้นผิวที่ต้องการวัด (Distance to Spot Ratio (D:S)) ซึ่งจะมีค่าประมาณ 2:1 การแสดงผลการวัดนั้น ยิ่งเครื่องวัดอยู่ห่างก็จะยิ่งมีพื้นที่การวัดกว้าง แต่หากต้องการวัดจุดใดจุดหนึ่งอย่างแม่นยำ จะต้องให้เครื่องวัดอยู่ใกล้กับจุดที่วัด เช่น หากเครื่องวัดอยุ่ห่างจากวัตถุประมาณ 240 mm พื้นที่ผิวที่วัดจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ 20 mm

ประโยชน์ของเครื่องวัดอุณหภูมิ  

การวัดอุณหภูมิยังมีความจำเป็นในการหลายวงการ เช่น ในวงการแพทย์นำมาใช้วัดอุณหภูมิร่างกายก็จะมีทั้งแบบปรอทเสียบใต้รักแร้ แบบอินฟาเรด เพื่อวัดอุณภูมิร่างกายว่ามีไข้หรือไม่ หรือจะนำมาวัดอุณหภูมิการไข่ตกสำหรับสตรีที่อยากตั้งครรภ์, ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น การวัดอุณหภูมิเนื้อสัตว์ การปรุงอาหาร อาหารแช่แข็ง และการเก็บรักษาอาหารในอุณหภูมิจะช่วยยืดอายุและเชื้อโรคไม่สามารถเจริญเติบโตได้ อุตสาหกรรมการเกษตร เช่น การวัดอุณหภูมิโรงเรือนปลูกพืช /เลี้ยงสัตว์ ซึ่งจะส่งผลต่อการให้น้ำ การใส่ปุ๋ย การป้องกันและกำจัดแมลงศัตรู เป็นต้น

เครื่องวัดอุณหภูมิมีจำหน่ายมากมายและหลายแบบ การเลือกซื้อก็ควรคำนึงถึงการใช้งานที่เหมาะสมเป็นหลัก และตามมาด้วยความน่าเชื่อถือของสินค้า เพราะเราต้องการความเที่ยงตรง แน่นอนในการวัด ซึ่งอาจเลือกแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ มีบริการหลังการขาย และมีการรับประกันสินค้า และก่อนใช้งานควรศึกษาวิธีการใช้อย่างละเอียดคะ เพื่อให้ได้ผลที่มีประสิทธิภาพ

ข้อมูลเพิ่มเติม: tech-time.co.th

Previous article3 ข้อดีของประกันสุขภาพแบบออมทรัพย์ที่หลายคนยังไม่รู้
Next articleคอนโดห้องเล็ก มาเพิ่มพื้นที่ในห้องด้วยโซฟาปรับนอนได้ พร้อมเช็คลิสต์