อาการสั่น โรคสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ (Essential Tremor)

1052

เราอาจจะเคยชินกับการเห็นผู้เฒ่าผู้แก่มีอาการมือไม้สั่น เนื่องจากการเสื่อมถอยของระบบต่างๆ ของร่างกายและ การควบคุมของระบบประสาทที่เริ่มจะผิดเพี้ยนไป เรียกว่าอายุมากอะไรก็ไม่ค่อยจะดีเหมือนหนุ่มๆสาวๆเขาแล้ว เราจึงมองอาการสั่น เป็นเรื่องธรรมดา แต่คุณทราบไหมคะว่าอาการมือสั่นบางครั้งอาจเป็นสัญญานเตือนให้เราทราบว่า เรากำลังมีความผิดปกติขึ้นกับร่างกายของเราก็เป็นไปได้คะ หรืออาจจะไม่เป็นอะไรก็ได้เช่นกัน

อาการสั่นปัจจุบันนี้โรคสั่นมีมากกว่า 20 ชนิด และสามารถแบ่งอาการสั่นที่มือได้ 3 กลุ่มใหญ่ คือ

  • อาการมือสั่นในขณะอยู่นิ่งๆ (Resting tremor) ซึ่งเป็นความผิดปกติของสมองส่วนที่ทำหน้าที่หลั่งสารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine) เช่น ในขณะที่เรานั่งดูทีวีหรือนั่งทำงาน และวางมืออีกข้างหนึ่งไว้ ไม่ได้ทำอะไร ก็จะมีอาการสั่น ซึ่งอาการสั่นที่เกิดขึ้นเจ้าตัวอาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำไป แต่คนรอบข้างจะสังเกตเห็นได้ และเมื่อตัวเองรู้สึกตัวว่ามือสั่น อาการนั้นก็จะหายไป อาการมือสั่นขณะอยู่นิ่งมักพบได้ไม่บ่อยนัก
  • อาการมือสั่นในขณะเคลื่อนไหวต้านแรงโน้มถ่วงโลก (Postural tremor) เช่น การยกมือแบไปข้างหน้า
  • อาการมือสั่นในขณะที่ทำกิจกรรม (Intention tremor) มักเกิดจากการผิดปกติของสมองน้อยหรือก้านสมอง จะมีอาการสั่นเมื่อทำกิจกรรม เช่น การตักอาหารเข้าปาก เขียหนังสือ ทำอะไรที่ต้องใช้ความแม่นยำกับงานชิ้นเล็ก อย่างการสนเข็ม เป็นต้น

อาการสั่นที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้เป็นโรคเสมอไปนะคะ อย่างอาการสั่นขณะทำกิจกรรมหรือขณะเคลื่อนไหวต้านแรงโน้มถ่วงโลกนั้น อาจเกิดจากการอดนอน อดอาหาร ดื่มสุรา ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน การรับประทานยาบางชนิด เมื่อรู้สึกตื่นเต้น เหนื่อย หรือระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นภาวะทางร่างกายที่กระตุ้นให้เกิดอาการสั่นขึ้น ซึ่งทางแพทย์ไม่ถือว่าเป็นโรคคะ สบายใจได้ อาการจะหายไปเมื่อสิ่งกระตุ้นหายไปนั่นเอง

อาการสั่น ที่ถือว่าเป็นโรค ก็มักเป็นอาการสั่นที่เกิดขึ้นขณะทำกิจกรรมหรือเคลื่อนไหวต้านแรงโน้มถ่วงโลกได้เช่นกัน โรคสั่นที่พบบ่อยที่สุดในโลกเรียกว่า โรคสั่นแบบไม่ทราบสาเหตุ (Essential tremor) หรือโรคสั่นอีที พบได้ 14 เปอร์เซ็นต์ในผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คนกลุ่มนี้มักมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้อยู่แล้ว ผู้ป่วยสามารถเห็นอาการสั่นของตนเองได้ชัดเจน เนื่องจากเกิดขึ้นในขณะทำกิจกรรม เช่น เขียนหนังสือ อาการสั่นอาจจะเกิดขึ้นที่มือ ศีรษะ ขา และเสียงได้เช่นกัน โรคสั่นประเภทนี้เป็นโรคทางพันธุกรรมจึงไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงควบคุมอาการสั่น

ปัจจุบันนี้ยาที่ตอบสนองทำให้อาการสั่นลดลงได้คือ ยารักษาความดันชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้อาการดีขึ้น 70-80 % เลยทีเดียวคะ ยาแก้ปวดปลายประสาท และยากันชักบางชนิด เป็นต้น อาการสั่นแบบนี้มักส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างยิ่ง ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้และเมื่ออายุมากขึ้นอาการสั่นจะมีความรุนแรงขึ้นอีกด้วย

ส่วนผู้ป่วยโรคพาร์กินสันก็จะมีอาการสั่นเช่นกันพบได้ 70 เปอร์เซ็นต์ทีเดียวคะ และอาการสั่นมักเกิดการสั่นในขณะที่อยู่นิ่งเสียมากกว่า นอกจากนี้ผู้ป่วยพาร์กินสันจะต้องมีอาการอื่นๆร่วมด้วยเช่น เคลื่อนไหวช้า อากาแข็งเกร็ง อาการทรงตัวไม่มั่นคง ซึ่งเวลาเดินจะเดินซอยเท้าถี่ๆ โน้มตัวไปข้างหน้า และก้าวขาไม่ออกเหมือนเท้าติดกับพื้น

เนื่องจาก อาการสั่น นั้นอาจจะเป็นอาการของโรคหลายประเภท อาจจะใช่หรือไม่ใช่โรคสั่นแบบไม่ทราบสาเหตุหรือโรคพาร์กินสันก็ได้ อาจเป็นโรคกล้ามเนื้อเกร็ง หรือเป็นเนื้องอกในสมองก็เป็นไปได้คะ ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรคจะดีที่สุดคะ หากอาการสั่นเกิดจากโรคที่เป็นอันตรายร้ายแรงมากก็จะรักษาได้ทันเวลาคะ

Previous articleโรคหมอนรองกระดูก กดทับเส้นประสาท อาจพิการได้
Next articleโรคข้ออักเสบ ข้อเสื่อม อาการ สาเหตุและการบำบัดรักษา