โรคไข้เลือดออก อาการสาเหตุและการป้องกัน

230

โรคไข้เลือดออก (ไข้เด็งกี :Dengue Fever) เป็นโรคที่กำลังอยู่ในกระแสนะคะ เนื่องจากอาการป่วยของพระเอกท่านหนึ่ง ที่เป็นไข้เลือดออกแล้วมีอาการหนักขั้นโคม่า และต้องเผชิญกับภาวะแทรกซ้อนถึงขั้นต้องตัดเท้าทิ้งแล้วหนึ่งข้าง ไข้เลือดออกที่เรารู้จักกันมานานทำไมถึงมีอาการรุนแรงขนาดนี้ แล้วเราควรหันมาป้องกันตนเองให้มากขึ้นด้วยหรือป่าว มาค้นหาคำตอบกันคะ

โรคไข้เลือดออกโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่ (Dengue Virus) สามารถมีชีวิตและเพิ่มจำนวนภายในตัวยุงลายและอยู่ไปตลอดอายุขัยของยุง ซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก ยุงลายที่เป็นพาหะมีชื่อว่า Aedes Aegypti เป็นยุงทีออกหากินในตอนกลางวัน และมักเป็นยุงลายตัวเมืย โดยยุงจะกัดและดูดเลือดที่มีเชื้อไวรัสจากผู้ป่วยไข้เลือดออก โดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง และเมื่อยุ่งไปกัดคนใหม่ก็จะถ่ายทอดเชื้อให้กับคนที่ถูกยุงกัดต่อไป

ยุงลาย พาหะที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไข้เลือดออก

ยุงลายชนิดนี้มักพบในอากาศร้อนชื้น ซึ่งประเทศไทยเป็นแหล่งแพร่ระบายโรคไข้เลือดค่อนข้างสูง โรคไข้เลือดออกมักระบาดในช่วงฤดูฝน และยุงลายชอบออกหากินตอนกลางวัน ดังนั้นเมื่อโดนยุงกัดตอนกลางวันสันนิษฐานไว้ได้เลยคะว่าเป็นยุงลาย

อาการของโรคไข้เลือดออก

หลายครั้งที่เราไปพบหมอเพราะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ โรคไข้เลือดออกมีอาการและความรุนแรงหลายระดับตั้งแต่ไม่มีอากรหรือมีอาการเล็กน้อยจนถึงเกิดภาวะช็อกซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ ความแตกต่างระหว่างโรคไข้หวัดกับโรคไข้เลือดออกคือ โรคไข้เลือดออกจะมีอาการไข้สูงกว่ามาก ประมาณ 40 องศาเซลเซียส หน้าแดง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อค่อนข้างมากกว่า และหากทำการรัดที่ต้นแขนจะพบจุดเลือดออก ผู้ป่วยอาจมีเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดกำเดไหล เลือดออกตามไรฟัน หากมีอาการรุนแรงก็จะมีเหงือออก มือเท้าเย็ฯ ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ปวดท้องใต้ชายโครงขวา ปัสสาวะลดลง จะถึงอาการช็อกและเสียชีวิตได้

เนื่องจากอาการที่คล้ายคลึงกับโรคอื่นๆ แพทย์จึงจำเป็นต้องนัดผู้ป่วยมาดูอาการอย่างต่อเนื่อง การตรวจเลือดในวันที่ 1-2 ของไข้อาจจะยังบอกได้ว่าเป็นไข้เลือดออกหรือไม่ แต่หากทำการตรวจเลือดหลังจากวันที่ 3 ของไข้แล้วเพื่อดูความข้นของเลือด เม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือด แพทย์จะบอกได้ว่าเป็นไข้เลือดออกหรือไม่คะ

การรักษาโรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่รุนแรงแต่มีโอกาสรักษาหายได้สูงเมื่อวินิจฉัยและได้รับการรักษาตั้งแต่แรก หากไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนได้ ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่ เลือดออกตามอวัยวะต่างๆตั้งแต่ผิวหนัง กระเพาะอาหาร ปอด สมอง เกิดจากเกล็ดเลือดต่ำ ควรหลีกเลี่ยงกระทบกระแทก การทำหัตถการหรือผ่าตัด และยังมีภาวะน้ำเกินในร่างกายทำให้มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดหรือช่องท้องได้ ทำให้หายใจลำบาก หอบ

การรักษาเป็นเพียงการรักษาตามอาการที่เป็น ถ้าไข้สูงก็ให้ เช็ดตัว ทานยาลดไข้ อย่างพาราเซลตามอล ห้ามใช้ยาแอสไพรินและไอบูโปรเฟนเป็นอันขาดเพราะมีฤทธิ์เสริมการเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ ส่วนสำหรับการป้องกันภาวะการช็อกโดยการชดเชยน้ำให้ร่างกายเพื่อไม่ให้ปริมาตรเลือดลดต่ำจนทำให้ความดันโลหิตตก อาจจะให้เป็นสารละลายเกลือแร่ หรือให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ และหากผู้ป่วยมีการเลือดออกมากทำให้เสียเลือดก็จำเป็นต้องให้เลือดเพิ่ม เป็นต้น

ปัจจุบันไข้เลือดออกมีอยู่ 4 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ที่ 1,2 , 3 และ 4 หากเราเคยเป็นไข้เลือดออกแล้วจะมีภูมิคุ้มกันไม่ให้เป็นไข้เลือดออกทั้ง 4 สายพันธุ์ประมาณ 1 ปี หลังจากนั้นภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ที่เป็นจะมีอยู่ตลอไป แต่ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์อื่นๆจะหมดไปหลังจาก 1ปี ดังนั้นหากเราได้รับเชื้อไข้เลือดออกครั้งที่ 2 จากสายพันธุ์ที่ต่างไปจากครั้งแรกอาจทำให้เราเป็นไข้เลือดออกที่รุนแรงได้คะ

การป้องกัน

สำหรับการป้องกันที่ดีที่สุดคืออย่าให้ยุงกัดเป็นอันขาดคะ โดยเฉพาะยุงในตอนกลางวันช่วงหน้าฝนแล้วยิ่งต้องระวังอย่างมาก นอกจากนี้การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ไม่ว่าจะเป็นการคว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง ปิดฝาภาชนะที่เก็บน้ำให้สนิท การเปลี่ยนน้ำในแจกันบ่อยๆ หากมีผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกในบริเวณบ้านใกล้เคียงก็สามารถแจ้งให้เจ้าหน้าราชการมาทำการพ่นสารเคมีกำจัดยุงให้ได้คะ

เอกสารคู่มือวิชาการโรคติดเชื้อแดงกีและโรคไข้เลือดออกแดงกีด้านการแพทย์และสาธารณสุข

ข้อมูลอ้างอิง

โรคไข้เลือดออก : pharmacy.mahidol.ac.th
ไข้เลือดออก : siamhealth.net
มารู้จักไข้เลือดออกภัยร้ายที่อยู่ใกล้ตัวตอนที่ 1 : si.mahidol.ac.th
ไข้เลือดออก: haamor.com

Previous articleเรียกผมกลับคืนด้วย..สมุนไพรปลูกผม ปลอดภัยและประหยัดเงิน
Next articleสมุนไพรแก้ผมร่วง หยุดผมร่วง บำรุงหนังศีรษะ