ยาคุมกำเนิด ประเภทของยาคุมกำเนิดมีกี่ชนิด การใช้งาน

234

ยาคุม หรือ ยาคุมกำเนิด (Oral contraceptive pill / Birth control pill) คือยาที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเพศหญิง มีความสามารถในการปัองกันการตั้งครรภ์ ยาคุมจะเข้าไปยับยั้งการตกไข่ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกมีสภาพที่ไม่เหมาะสมกับการฝังตัวอ่อน ทำให้มูกบริเวณปากมดลูกเหนียวขึ้น ส่งผลให้การเคลื่อนตัวของอสุจิไม่ได้ ไม่สามารถเข้าไปปฎิสนธิกับไข่ของผู้หญิงได

ยาคุมกำเนิด

ยาคุมกำเนิดสามารถแบ่งได้ 2 ชนิดใหญ่ คือยาคุมที่รับประทานแบบต่อเนื่อง และยาคุมแบบฉุกเฉิน

ยาคุมกำเนิดแบบรับประทานต่อเนื่อง

ยาคุมกำเนิดแบบรับประทานต่อเนื่อง สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดฮอร์โมนรวม และชนิดฮอร์โมนเดี่ยว

  • ยาคุมกำเนิดแบบชนิดฮอร์โมนรวม จะแบบที่มีฮอร์โมนเท่ากันทุกเม็ด และแบบที่มีปริมาณฮอร์โมนไม่เท่ากันในแต่ละเม็ด เช่น เม็ดยาในช่วงแรกจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงกว่า ในขณะที่ในช่วงปลายเดือนเม็ดยาจะมีปริมาณฮอร์โมนโปรเจสโตเจนสูงกว่า เพี่อเลียนแบบการหลั่งฮอร์โมนของร่างกายให้มากที่สุดนั่นเองคะ  ยาคุมชนิดนี้มีข้อดีคือมีประสิทธิภาพในการป้องกันสูง อาการปวดท้องประจำเดือนจะน้อยลง ช่วยป้องกันการเกิดโรค อย่าง เนื้องอกที่เต้านม ข้ออักเสบ เป็นต้น
  • ยาคุมกำเนิดแบบชนิดฮอร์โมนเดี่ยว ยาคุมชนิดนี้จะมีเฉพาะฮอร์โมนโปรเจสโตเจนเพียงอย่างเดียว ทำให้มูกบริเวณปากมดลูกเหนียวข้นขึ้น จนอสุจิไม่สามารถเดินทางเข้าไปผสมกับไข่ได้สะดวก เยื่อบุโปรงมดลูกบางและฝ่อ ข้อดีของยาคุมกำเนิดชนิดนี้ก็คือ ไม่ทำให้เกิดสิว ฝ้า ลดการปวดท้องประจำเดือน ลดการเสียเลือดจากการมีประจำเดือนจึงเหมาะกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ผู้ที่สูบหรี่จัด ยาคุมชนิดนี้ยังเหมาะสำหรับคุณแม่ที่ต้องให้นมบุร เพราะไม่ทำให้ปริมาณน้ำนมลดลง ไม่ทำให้คุณภาพของน้ำนมเสื่อม ลดการเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดอุดตันหรือโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ แต่ยาประเภทนี้ก็มีข้อเสียนะคะ คือมีฤทธิ์ยับยั้งการตั้งครรภ์ได้เพียง 60 เปอร์เซนต์เท่านั้น หากใช้ยาไม่ถูกวิธีหรือลืมรับประทานยาจะทำให้เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์สูง และอาจทำให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก ประจำเดือนมาคลาดเคลื่อน ในบางรายอาจมีเลือดออกทางช่องคลอดกะปริดกะปรอย

ยาคุมแบบฉุกเฉิน

ยาคุมแบบฉุกเฉิน มีโฮมอร์เพศหญิงหรือโปรเจสเตอโรนค่อนข้างสูง ใช้สำหรับป้องกันในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น เช่น การถูกข่มขืน ถุงยาอนามัยฉีด ขาด เมาขาดสติไม่ได้ป้องกัน เป็นต้น ภายใน 1 แผงจะประกอบไปด้วยยา 2 เม็ด โดยเม็ดที่ 1 ให้รับประทานภายใน 72 ชั่วโมง หลังจากที่มีเพศสัมพันธ์ และยิ่งรับประทานได้เร็วเท่าไหร่ยิงได้ และรับประทานเม็ดที่ 2 อีก 12 ชั่วโมงต่อมา สำหรับยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินไม่ควรรับประทานเกิน 4 เม็ดใน 1 เดือน ถ้ารับประทานบ่อยจนเกินไปอาจส่งผลข้างเคียงได้ เช่น ยังยั้งการบีบตัวของท่อนำไข่ซึ่งส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ มีเลือดออกกะปริดกะปรอย การรับประทานยาคุมกำเนิดพร้อมกัน 2 เม็ด ก็สามารถกระทำได้ ยายังคงให้ผลที่มีประสิทธิภาพเหมือนเดิม

แต่ก็ไม่แนะนำนะคะ เพราะอย่างที่ทราบแล้วว่ายาคุมกำเนิดชนิดนี้ค่อนข้างมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูง หากเรารับประทานครั้งเดียว 2 เม็ด ทำให้ร่างกายเราได้รับฮอร์โมนมากๆในเวลาเดียวกัน อาจทำให้มีโอกาสภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้  เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ได้  ทางที่ดี และสาวๆท่านใดที่รับประทานยาเม็ดแรกแล้วอาเจียนออกมาภายใน 2 ชั่วโมง จำเป็นต้องรับประทานยาใหม่อีกครัง มีเชื่อว่าการรับประทานยาคุมแบบฉุกเฉินขณะตั้งครรภ์อาจทำให้ลูกพิการได้หรือไม่ ในปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยแสดงออกมาว่าจะทำให้ทารกในครรภ์พิการได้  อย่างใดก็ตามยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินไม่สามารถรับรองได้ว่าจะไม่ได้ตั้งครรภ์นะคะ

การรับประทานยาคุมกำเนิดควรหาข้อมูลหรือปรึกษาแพทย์สูตินารีได้นะคะ เพื่อความปลอดภัยของคุณสาวๆเอง หากรับประทานยาคุมแล้วไม่ว่าชนิดใดเกิดอาการข้างเคียงหรือสงสัยว่าเกิดจากฤทธิ์ของยาคุมกำเนิดควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีคะ

Previous articleปัญหาสิว และวิธีการใช้ยารักษาสิวแบบต่างๆ
Next articleวิธีขจัดรังแค แบบธรรมชาติ ให้ไกลหนังศีรษะ