วิธีทำปุ๋ยอินทรีย์ ทำได้ง่ายๆ จากสิ่งใกล้ตัว รักษาธรรมชาติ

275

ปุ๋ยอินทรีย์ หรือ ปุ๋ยหมัก เกิดจากการย่อยสลายของสารอินทรีย์วัตถุทางชีวเคมีโดยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน จนเป็นสสารที่มีประโยชน์ต่อพืช หรือจะพูดง่ายๆคือ ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยที่ได้จากการเน่าเปื่อยผุพังของซากสิ่งมีชีวิต พืช สัตว์ ปัจจุบันผลิตจากมูลสัตว์ เช่น วัว ควาย ไก่ ค้างคาว พืช และแร่ธาตต่าง นำมาบดผสมกัน แล้วเติมจุลินทรีย์ บ่มหมัก จนย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย

ปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยอินทรีย์ มีทั้งในรูปแบบน้ำ ผง เม็ด มีด้วยกันหลายชนิด คือ

1. ปุ๋ยคอก เป็นปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ ที่สัตว์ขับถ่ายออกมารวมถึงน้ำล้างคอก เศษฟาง และวัสดุรองคอก ปุ๋ยคอกไม่จำเป็นต้องมีการหมักให้มีขนาดเล็ก เนื่องจากถูกย่อยจากตัวสัตว์แล้ว เป็นปุ๋ยที่มีอินทรีย์และจุลินทรีย์จำนวนมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์และอาหารที่สัตว์กินเข้าไปด้วย มูลสัตว์ที่นิยมนำมาทำปุ๋ยคอก ได้แก่ วัว ควาย หมู ไก่ นก

2. ปุ๋ยพืชสด เป็นปุ๋ยที่ได้จากพืช พืชเกษตร พืชในแปลงนา เมื่อปลูกให้เจริญเติบโตจนถึงระยะที่ไถกลบลงดินขณะที่พืชยังยืนต้นอยู่ เป็นกาเพิ่มอินทรียวัตถุหรือธาตุอาหารให้แก่ดิน และเชื้อจุลินทรีย์ให้แก่ดิน โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วที่มีเชื้อไรโซเบียม และธาตุไนโตรเจนที่พืชตระกูลถั่วตรึงได้

3. ปุ๋ยหมัก (Composts Fertilizer) คือปุ๋ยที่ได้จากการหมักพืช ซากสัตว์ มูลสัตว์ เพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรีย์ สารจนผุพังกลายเป็นอาหารแก่พืช การทำปุ๋ยหมักคือนำวัสดุต่างๆมากองรวมกัน แล้วรดน้ำให้ความชื้น คลุมด้วยผ้าหรือพลาสติก ปล่อยให้เกิดการย่อยสลาย จนแปรสภาพ เศษอินทรีย์กลายเป็นสีน้ำตาลเข้มจนสีดำ มีลักษณะพรุน ยุ่ย ร่วนซุย

4. ปุ๋ยมูลไส้เดือน ไส้เดือนเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีทั้งเพศผู้เพศเมียในตัวเดียวกัน โดยการนำขี้วัวมา กากมะพร้าว ใส่ในกะละมัง แล้วจึงนำไส้เดือนใส่ลงไป ให้รดน้ำ 3-4 วันต่อครั้ง ใช้เวลาประมาณ 1.5-2 เดือน สามารถนำไปใส่พืช ผลไม้ ผัก หรือจำหน่ายได้ ปุ๋ยไส้เดือนจะมีโมเลกุลสารอาหารที่เล็กมากที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้ทันที และมีฮอร์โมนพืชรวมอยู่ด้วย จะช่วยเร่งรากฝอยให้มากขึ้น จึงดูดอาหารได้มาขึ้น ยิ่งกว่านั้นปุ๋ยไส้เดือนยังมีเอนไซม์ไคติเนส (Kitinase) ซึ่งสามารถทำละลายไคตินสารชีวเคมีชนิดหนึ่งที่ประกอบเป็นเปลือกชั้นนอกของแมลง ด้วยเหตุนี้ทำให้พืชมีความต้านทานทั้งโรคพืชและโรคแมลงตามธรรมชาติ

5. ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง คือ ปุ๋ยที่ได้จากการหมักวัสดุอินทรีย์ และอนินทรีย์ธรรมชาติที่มีธาตุอาหารสูงจนสลายตัวอย่างสมบูรณ์ หรือเป็นการนำปุ๋ญอินทรีย์ที่ผ่านการหมักสมบูรณ์แล้วจึงนำมาผสมกับวัตถุอินทรีย์ที่มีธาตุอาหารสูง อย่าง มูลค้างคาว กระดูกป่ลาป่น หินฟอสเฟต ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงจะสามารถปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชได้อย่างช้า จึงลดการสูญเสียธาตุอาหารลงดิน และปริมาณการใช้ต่อไร่ไม่สูง ทำให้เกษตรประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ย

ปุ๋ยอินทรีย์มีอินทรียวัตถุ มีธาตุอาหารรอง และมีจุลธาตุที่จำเป็นต่องจุลินทรีย์ในดินและพืช ซึ่งเราไม่สามารถพบได้ในปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยสังเคราะห์ ปุ๋ยอินทรีย์ไม่ทำให้ดินมีสภาพเป็นกรดเมื่อใช้ไปนานเหมือนปุ๋ยเคมี แต่จะปรับสภาพดินให้เป็นกลาง ทำให้สภาพดินโปร่ง ร่วนซุย อ่อนนุ่ม อุ้มน้ำได้ดี และทำให้ดินมีความชุ่มชื้นสูงกว่า

อย่างไรก็ตามปุ๋ยอินทรีย์ก็มีข้อด้อยกว่าปุ๋ยเคมี เพราะมีธาตุอาหารอยู่น้อย ธาตุอาหารอยู่ในรูปสารประกอบอินทรีย์ เช่น ไนโตเจนอยู่ในสารประกอบจำพวกโปรตีน เมื่อใส่ลงในดินพืชจะไม่สามารถดูดไปใช้ได้ทันทีแต่ต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์เสียก่อน แล้วจึงปล่อยธาตุอาหารออกมา

ถึงแม้ปุ๋ยอินทรีย์ อาจจะให้แร่ธาตุและทำให้พืชเจริญเติบโตไม่ทันใจอย่างกับการใช้ปุ๋ยเคมี แต่การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นการรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนะคะ

Previous articleเครื่องไล่หนูด้วยคลื่นความถี่ ได้ผลจริงไหม?
Next articleลูกหมากกันโคลง ชิ้นส่วนที่สำคัญของรถยนต์ มีความสำคัญอย่างไร